ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563
-
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563 คืออะไร ทำไมต้องปรับเปลี่ยน?
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563 นี้จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งเริ่มใช้เมื่อปี 2508 ราคากลางไม่มีการปรับมาเป็นเวลานาน อัตราภาษีถดถอย มีการยกเว้นลดหย่อนจำนวนมาก และยังจะแก้ไขปัญหาภาษีโรงเรือนและที่ดินซึ่งมีฐานภาษีซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้
-
แล้วใครต้องเสียภาษีอสังหาฯ นี้?
- เจ้าของที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง
- เจ้าของห้องชุด
- ผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือทำประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ(ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
-
การแบ่งประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- เกษตรกรรม ใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อบริโภค หรือจำหน่ายเพื่อบริโภค หรือใช้งานในฟาร์ม จะต้องปลูกต้นไม้ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด ทั้งชนิดต้นไม้และปริมาณการปลูก เช่น การปลูกกล้วยต้องไม่ต่ำกว่า 200 ต้นต่อไร่ หากทำเกษตรกรรมไม่เต็มพื้นที่ต้องเสียภาษีตามสัดส่วนการใช้งาน
- ที่อยู่อาศัย แบ่งเป็น “บ้านหลังหลัก” คือเจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนด + ทะเบียนบ้าน (ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน แต่เจ้าของคนใดคนหนึ่งมีชื่อในทะเบียนบ้าน)
“บ้านหลังอื่นๆ” คือ เจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
- ที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ
- อื่นๆ เช่น พาญิชยกรรม อุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน โรงแรม ฯลฯ
-
อัตราการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
การจัดเก็บภาษีจะคำนวณจาก “ราคาประเมิน” ของสิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน หรือห้องชุด โดยสามารถค้นข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/ ซึ่งใช้เป็นราคากลางของแต่ละเขตพื้นที่แตกต่างกันไป มีอัตราการจัดเก็บภาษีดังนี้ (ภาพจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง)